จป หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน คือใคร
ตามที่ กระทรวงแรงงาน ได้ออกกฏกระทรวง เรื่อง “กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอา ชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2549 กำหนดให้นายจ้างของสถานประกอบการ ใน 14 ประเภทธุรกิจ ตามที่กระทรวงกำหนดต้องจัดให้ลูกจ้างไดัรับการอบรม และแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่างๆ คือ ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ โดยกำหนดให้นายจ้างดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ดังนี้
หลักสูตร จป หัวหน้างาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักความปลอดภัยและอาชีวอนามัย กฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การค้นหาอันตราย การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมในการปฎิบัติงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยตามบทบาทหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างานในสถานประกอบกิจการได้
1.แต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน สถานประกอบการประเภทธุรกิจที่ (1) – (5) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปและประเภทที่(6)-(14) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป แต่งตั้งลูกจ้างระดับบริหารหรือผู้จัดการหน่วยงานขึ้นไป และลูกจ้างระดับหัวหน้างานหรือผู้มีหน้าที่ ควบคุม ดูแลบังคับบัญชา สั่งงานของหน่วยงานนั้นๆ ทุกคน (รวมทั้งชาวต่างประเทศด้วย) เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
2.แจ้งรายชื่อ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย(สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/เขต) ภายใน15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยแนบปริญญาบัตร หลักฐานการอบรมและทดสอบ (วุฒิบัตร) พร้อมแบบเอกสารการแต่งตั้งของสถานประกอบการ
3.จัดให้มีการอบรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับต่างๆ ตามข้อ 1 ลูกจ้างซึ่งรับเข้าทำงานใหม่ และลูกจ้างที่นายจ้างเปลี่ยนงาน ซึ่งมีความแตกต่างไปจากงานเดิมและอาจเกิดอันตราย เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานและข้อปฎิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด
4.ออกค่าใช้จ่าย ตาม มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ พ.ศ.2554 การดำเนินการตามกฎหมายความปลอดภัยให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้นทั้งหมด
5.ส่งรายงาน ให้นายจ้างส่งรายงานการดำเนินงานและการปฏิบัติหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ ต่ออธิบดีมอบหมายตามแบบที่กำหนด (จป.ท / จป.ว) เป็นประจำทุก 3 เดือนตามปีปฏิทิน ทั้งนั้น ภายใน 30 วัน นับแต่ที่ครบกำหนด รวมทั้งให้นายจ้างเก็บหลักฐานการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ ไว้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
6.แจ้งข้อมูล ที่จำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานที่ทำงานซึ่งเสี่ยง หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายให้ลูกจ้างทราบก่อนปฏิบัติงาน
7.การควบคุมเมื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ พ้นจากหน้าที่ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเดียวกันแทนที่ และแจ้งชื่อต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย และดำเนินการตามข้อ 1-5
8. บทกำหนดโทษ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ ตามมาตรา 8 รวมทั้งกฎกระทรวงฯที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
พนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา สั่งงานให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของหน่วยงานนั้น อาทิ หัวหน้าหน่วยงานทุกคนในสถานประกอบการเข้ารับการอบรม และแต่งตั้งจากนายจ้างให้ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างานทุกคน
หัวข้อการอบรม
1.ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน (3 ชั่วโมง)
2.กฎหมาย ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (3 ชั่วโมง)
3.การค้นหาอันตรายจากการทำงาน ( 3 ชั่วโมง )
4.การป้องกันและควบคุมอันตราย (3 ชั่วโมง)
2.แจ้งรายชื่อ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย(สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/เขต) ภายใน15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยแนบปริญญาบัตร หลักฐานการอบรมและทดสอบ (วุฒิบัตร) พร้อมแบบเอกสารการแต่งตั้งของสถานประกอบการ
3.จัดให้มีการอบรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับต่างๆ ตามข้อ 1 ลูกจ้างซึ่งรับเข้าทำงานใหม่ และลูกจ้างที่นายจ้างเปลี่ยนงาน ซึ่งมีความแตกต่างไปจากงานเดิมและอาจเกิดอันตราย เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานและข้อปฎิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด
4.ออกค่าใช้จ่าย ตาม มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ พ.ศ.2554 การดำเนินการตามกฎหมายความปลอดภัยให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้นทั้งหมด
5.ส่งรายงาน ให้นายจ้างส่งรายงานการดำเนินงานและการปฏิบัติหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ ต่ออธิบดีมอบหมายตามแบบที่กำหนด (จป.ท / จป.ว) เป็นประจำทุก 3 เดือนตามปีปฏิทิน ทั้งนั้น ภายใน 30 วัน นับแต่ที่ครบกำหนด รวมทั้งให้นายจ้างเก็บหลักฐานการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ ไว้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
6.แจ้งข้อมูล ที่จำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานที่ทำงานซึ่งเสี่ยง หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายให้ลูกจ้างทราบก่อนปฏิบัติงาน
7.การควบคุมเมื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ พ้นจากหน้าที่ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเดียวกันแทนที่ และแจ้งชื่อต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย และดำเนินการตามข้อ 1-5
8. บทกำหนดโทษ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ ตามมาตรา 8 รวมทั้งกฎกระทรวงฯที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
พนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา สั่งงานให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของหน่วยงานนั้น อาทิ หัวหน้าหน่วยงานทุกคนในสถานประกอบการเข้ารับการอบรม และแต่งตั้งจากนายจ้างให้ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างานทุกคน
หัวข้อการอบรม
1.ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน (3 ชั่วโมง)
2.กฎหมาย ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (3 ชั่วโมง)
3.การค้นหาอันตรายจากการทำงาน ( 3 ชั่วโมง )
4.การป้องกันและควบคุมอันตราย (3 ชั่วโมง)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น