ปจ.1 คือ

พวก โอเวอร์เฮดเครน รอก ลิฟท์ขนส่งในงานก่อสร้าง หรือ ทาวน์เวอร์เครน อะไรทำนองนั้น
วันนี้เรามาดูกันว่า ปจ.1 คืออะไร ปจ.1 ปจ.2 นั้น คือ ปั้นจั่นซึ่งปัจจุบันเราใช้ปั้นจั่น หรือ ที่เรียกติดปากกันว่าเครนต้องได้รับการตรวจสอบและทดสอบจากวิศวกรก่อนใช้งาน ทำไมต้องตรวจเครนน่ะเหรอก็เพราะว่าเราจะได้มีความมั่นใจว่า ปั้นจั่นที่เรานำมาใช้งานนั้นสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและไม่เกิดอุบัติเหตุขณะยก ย้ายสิ่งของต่างๆ ในสถานประกอบกิจการหรือในโรงงานเรา
ปจ. ปั้นจั่นนั้นมีอยู่ 2 แบบคือ 
  1. ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือ ปจ.1
  2. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หรือ ปจ.2

ความถี่ในการ ตรวจปั้นจั่น

1.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง

  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน

2.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ

  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
  • พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน

3.ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก

4.ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน

น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครน

วิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน

1.ปั้นจั่นใหม่

  • ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
  • ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดยกอย่างปลอดภัย

2.ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว

  • ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
  • กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ
ยังไงก็เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพสินก็ควรทำการตรวจสอบเครน อย่างสม่ำเสมอ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

MSDS กับ SDS ต่างกันอย่างไร

การวิเคราะห์ SWOT คือเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง หรือ องค์กรสามารถทำมาวิเคราะห์ได้ในหลากหลายรูปแบบ