ตรวจเครน ตรวจ ปจ.2 ตรวจรับรองปั้นจั่น ตรวจ ปจ.1
การตรวจสอบปั้นจั่น หรือ ตรวจเครน นั้นมีความจำเป็นตามกฎหมายที่ให้ผู้ที่ทำงานกับเครนนั้นต้องได้รับการตรวจสอบโดยวิศวกร
เครน หรือ ปั้นจั่นมี 2 ประเภทได้แก่
เครนอยู่กับที่ ปจ.1 และ เครน ชนิด เคลื่อนที่ ปจ.2 ตรวจ ปจ.1 และ ตรวจ ปจ.2
เครน หรือ ปั้นจั่นมี 2 ประเภทได้แก่
เครนอยู่กับที่ ปจ.1 และ เครน ชนิด เคลื่อนที่ ปจ.2 ตรวจ ปจ.1 และ ตรวจ ปจ.2
ความถี่ในการ ตรวจปั้นจั่น
1.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
2.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
- พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
3.ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
4.ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน
น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครน
วิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน
1.ปั้นจั่นใหม่
- ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
- ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
2.ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
- ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
- กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น