บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2019

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า

รูปภาพ
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรอง ระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า นายจ้างได้ดําเนินการ ตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยมี วิศวกรไฟฟ้า เป็นผู้บันทึกผลการตรวจสอบ ให้ถือว่าเป็น การตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า หากมีบริภัณฑ์ไฟฟ้าอื่นที่จําเป็นต้องตรวจสอบเพิ่มเติม  ( เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็นหรือเครื่องทําน้ําดื่ม เครื่องทําความร้อน เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เป็นต้น )  ให้จัดทําเป็นเอกสารแนบ

MSDS กับ SDS ต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
MSDS ย่อมาจาก Material Safety Data Sheet หมายถึงเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสาร ข้อมูลที่อยู่ในเอกสารความปลอดภัยประกอบด้วย 16 หัวข้อได้แก่ 1 - ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย 2 - องค์ประกอบ/ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม 3 - ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย 4 - มาตรการปฐมพยาบาล  5 - มาตรการการผจญเพลิง 6 - มาตรการเมื่อมีอุบัติเหตุสารหกรั่วไหล 7 - ข้อปฏบัติการใช้สารและการเก็บรักษา 8 - การควบคุมการสัมผัสสาร/ การป้องกันส่วนบุคคล 9 - สมบัติทางเคมีและกายภาพ 10 - ความเสถียรและความว่องไวต่อปฏิกิริยา 11 - ข้อมูลทางพิษวิทยา 12 - ข้อมูลเชิงนิเวศน์ 13 - มาตรการการกำจัด 14 - ข้อมูลการขนส่ง 15 - ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนด 16 - ข้อมูลอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วเอกสารความปลอดภัยนี้จะต้องติดไปกับสารเคมี ใช้เป็นข้อมูลประจำตัวของสารเคมีในการประกอบการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นในการขอขึ้นทะเบียน เป็นต้น พนักงานที่ทำงานกับสารเคมีต้องได้รับการ อบรมการทำงานกับสารเคมีอันตราย

อบรมความปลอดภัยในการทำงาน

หลักสูตรอบรมความปลอดภัยในการทำงาน ที่กฎหมายกำหนดนั้นมีมากมายหลายหลักสูตรเช่น อบรมที่อับอากาศ อบรมที่สูง อบรมการทำงานบนที่สูง อบรมที่สูง อบรม การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อบรมเครน อบรม การทำงานกับไฟฟ้า อบรม การทำงานกับสารเคมี อบรมผู้เฝ้าระวังไฟ อบรมความปลอดภัย 6 ชม อบรมความปลอดภัย อบรม อันตรายจากเสียงดัง

หน้าที่ของ จป วิชาชีพ มีอะไรบ้าง

รูปภาพ
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้  1.  ตรวจสอบ และเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.  วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน หรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง 3.  ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน 4.  วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง 5.  ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน 6.  แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ  3 7.  แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความ ไม่ปลอดภัยในการทำงาน 8.  ตรวจวัด และประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อม...